วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

โรคทางสมองและวิธีรักษา


โรคสมอง หรือโรคทางสมอง (Brain disease) คือ โรคที่เกิดจากมีการทำงานของเซลล์สมองผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการต่างๆทางสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต สับสน ความจำเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโรคสมองมีสาเหตุได้หลากหลายสาเหตุดังจะกล่าวต่อไปในหัวข้อสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
โรคสมอง เป็นโรคพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้พบโรคสมองในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 2 เท่า
ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานการเจ็บป่วยด้วยโรคทางสมองในผู้ใหญ่ พบได้ประมาณปีละ 1 ล้าน 1 แสนคน ซึ่งในการนี้รวมทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองด้วย
ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานโรคทางสมองเรียงตามลำดับจากพบบ่อยที่สุด ไปจนถึงที่พบได้น้อยที่สุดใน 8 ลำดับ คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ อุบัติเหตุทางสมอง โรคลม ชัก โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (โรคเอมเอส) สมองเสื่อมจากโรคเอดส์ และโรคเนื้องอกสมอง

สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมอง________________________________

สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองมีหลากหลาย ได้แก่
  • สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจาก โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังได้กล่าวในรายละเอียดที่แยกเขียนแต่ละบทความแล้วในเว็บ haamor.com
  • สาเหตุจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ จากการเสื่อมตามธรรมชาติของเซลล์ทุกชนิดในร่างกายเมื่อสูงอายุขึ้น เป็นอีกสาเหตุที่พบบ่อยของโรคทางสมอง โดยโรคที่พบบ่อยคือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันเป็นสาเหตุที่มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ประมาณ 2% ของผู้ป่วยพบเกิดก่อนอายุ 65 ปี มีรายงานจากยุโรปว่า พบสาเหตุนี้ได้ประมาณ
                0.4-1% ในคนอายุ 60-69 ปี
                2-6% ในอายุ 70-79 ปี
                10-20% เมื่ออายุ 80-89 ปี
                และ 20-30% เมื่ออายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป
                ทั้งนี้ในผู้ป่วยทั้งหมดพบเกิดในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชายเล็กน้อย

  • สาเหตุจากการบาดเจ็บของสมอง โดยสาเหตุนี้พบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ชายพบเกิดบ่อยกว่าผู้หญิง ประมาณ 2-3 เท่า และพบเกิดได้ในทุกอายุ ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยมีสถิติการเกิดดังได้กล่าวแล้วในบทนำ นอกจากนั้น ยังเป็นสาเหตุที่ส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้
  • สาเหตุจากโรคลมชักโรคลมชักเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเกิดอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุว่าอะไรเป็นตัวทำให้เซลล์สมองทำงานผิดปกติจนส่งผลให้เกิดอาการชัก หรือลม ชักขึ้น สถิติจากสหรัฐอเมริกา พบอัตราการเกิดโรคนี้ประมาณ 200,000 รายต่อปี ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าผู้หญิงเล็กน้อย พบได้ในทุกอายุ ในช่วงอายุต่ำกว่า 15 ปี พบโรคนี้ได้ประมาณ 45,000 รายต่อปี ซึ่งโรคนี้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยจะมีอาการชักทั้งตัว ที่เหลือ อาจมีอาการชักกระตุกเพียงบางส่วนของร่างกาย หรืออาจไม่มีการชักกระตุก แต่เป็นการเหม่อลอยและหมดสติ
  • สาเหตุจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (โรคเอมเอส) เป็นโรคพบได้น้อย ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 1-3 เท่า พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้สูงในช่วงอายุ 20-40 ปี ทั้งนี้พบโรคนี้ได้ประมาณ 2-150 รายต่อประชากร 100,000 คน (โดยขึ้นกับว่าเป็นรายงานจากที่ใด)
  • สาเหตุจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น การติดเชื้อโรคเอดส์ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส (โรคสมองอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอัก เสบ) เป็นสาเหตุพบได้ในทุกอายุ โดยเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกัน
  • สาเหตุจากโรคเนื้องอกสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อยปานกลาง พบในผู้หญิงและในผู้ชายใกล้เคียงกัน โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ในสหรัฐอเมริกา รายงานในปี พ.ศ. 2543 พบโรคนี้ได้ 97.5 รายต่อประชากร 100,000 คน

โรคทางสมองทีอาการอย่างไร ?_________________________________________

อาการจากโรคทางสมองขึ้นทั้งกับสาเหตุและกับตำแหน่งที่เกิดโรค เพราะสมองในแต่ละตำแหน่งจะทำหน้าที่ต่างๆกัน

อาการของโรคสมองตามสาเหตุ เช่น มีไข้ เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ หรือ ปวดศีรษะร่วมกับอาเจียน และมีแขนขาอ่อนแรง (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) เมื่อเกิดจากเนื้องอกสมอง เป็นต้น

อนึ่ง อาการโดยทั่วไปที่ช่วยแพทย์วินิจฉัยว่า โรคน่าเกิดจากโรคสมอง คือ
  • ปวดศีรษะ ซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาการไม่สามารถหายได้จากการกินยาแก้ปวด ลักษณะการปวดอาจปวดเฉพาะจุด เช่น ที่ขมับ หรือปวดทั่วทั้งศีรษะ และมักร่วมกับการอาเจียน
  • สับสน ซึมลง
  • ความจำด้อยลง หลงลืมง่าย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหายใจไม่ได้จากกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง
  • อาการชา ตามจุดต่างๆทั่วร่างกาย เช่น แขน ขา และ/หรือใบหน้า
  • เดินเซ
  • ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว
  • คอแข็ง
  • ชัก
  • โคม่า

แพทย์วินิจฉัยโรคสมองได้จากอะไร ?_______________________________________

แพทย์วินิจฉัยโรคสมองได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุ บัน ประวัติกินยาต่างๆ ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมทาง ด้านสมอง ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย สิ่งที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดดูการติดเชื้อต่างๆ ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography ย่อว่า EEG) ตรวจภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ ตรวจหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสีเข้าในหลอดเลือด (Angiography) ตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) และบางครั้งอาจต้องตัดชิ้นเนื้อจากสมองเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุ บัน ประวัติกินยาต่างๆ ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมทาง ด้านสมอง ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย สิ่งที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดดูการติดเชื้อต่างๆ ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography ย่อว่า EEG) ตรวจภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ ตรวจหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสีเข้าในหลอดเลือด (Angiography) ตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) และบางครั้งอาจต้องตัดชิ้นเนื้อจากสมองเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคสมองได้อย่างไร?_____________________________________________

แนวทางการรักษาโรคสมอง คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ

การรักษาสาเหตุ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคเกิดจากการติดเชื้อ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ตามแต่ละสาเหตุ นอกจากนั้นคือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง เช่น การกินอาหารมีประ โยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวันโดยจำกัดปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานของร่างกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ การรักษาสุขภาพจิต และการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)

การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ การทำกายภาพบำบัด กายภาพฟื้นฟูในกรณีมี อัมพฤกษ์ อัมพาต

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร ?__________________________________

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือเมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้ออาการ ควรรีบพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลฉุกเฉินทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ

ภายหลังเมื่อทราบว่าตนเองมีโรคสมอง การดูแลตนเอง การพบแพทย์ คือ
  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อการมีสุขภาพกายและสุขภาพ จิตที่แข็งแรง
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน
  • ออกกำลังกายทุกวันตามควรกับสุขภาพ
  • ทำกายภาพบำบัด กายภาพฟื้นฟูตามแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดแนะนำ อย่าหมดกำลังใจ
  • รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆเลวลง หรืออาการผิดไปจากเดิม หรือเมื่อกัง วลในอาการ

ป้องกันโรคสมองได้อย่างไร ?___________________________________________


การป้องกันโรคสมอง คือการหลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ที่สำคัญคือ
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเรื่องการกินอาหาร ซึ่งที่ควรบริโภคอาหารคือ อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ กินให้ครบถ้วนในทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสมไม่ให้เกิด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ เลิกบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่ จำกัดการดื่มสุรา (อ่านเพิ่มเติมใน อาหารป้องกันโรคมะเร็ง)
  • ป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคสมอง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคอ้วน และโรคมะเร็งต่างๆ
  • ระมัดระวังอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้หมวกนิรภัยเมื่อขับขี่จักรยานยนต์ รัด เข็มขัดนิรภัยเมื่อขับรถยนต์ และสวมใส่เครื่องป้องกันศีรษะเสมอ ขึ้นกับประเภทกีฬา และการงานอาชีพ รวมทั้งการเมาไม่ขับ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ลดโอกาสติดเชื้อ และการเป็นโรคทางจิตเวช
  • การตรวจสุขภาพประจำปี คัดกรองโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็งซึ่งที่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่)

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

บำรุงสมองช่วงสอบ?


      กินอะไรก่อนอ่านหนังสือสอบดี? ที่จะช่วยให้เรามีความจำดีขึ้น มีสมาธิในการอ่านหนังสือสอบมากยิ่งขึ้น 

1.อัลมอนด์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อัลมอนด์บำรุงสมอง      

            อัลมอนด์อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมองค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน E โฟเลต กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทและสมองด้วยกันทั้งสิ้น

2. ปลา



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สเต็ก ปลา
          สิ่งที่สมองต้องการจากปลาก็คือกรดไขมันโอเมก้า 3 สารอาหารช่วยบำรุงประสาทและสมองซึ่งร่างกายสร้างเองไม่ได้ รวมไปถึงกรด DHA ที่สำคัญต่อทักษะการจดจำของสมองมาก ๆ ชนิดที่หากสมองขาด DHA อาจเป็นโรคความจำเสื่อมกันได้เลย ดังนั้นหากอยากบำรุงความจำให้การอ่านหนังสือสอบของเรามันฝังเข้าไปในหัวจริง ๆ ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทู ปลากะพง หรือปลาสวาย ควรเป็นเมนูที่ควรกินอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนสอบ ระหว่างสอบ และหลังสอบเลยจ้า

3. ผักใบเขียว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักใบเขียว
           ผักใบเขียวแทบทุกชนิดยังมีสารอาหารที่สำคัญต่อระบบการทำงานของสมอง เพราะในผักใบเขียวจะอุดมไปด้วยวิตามินอีและโฟเลท อาหารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะคนที่มักจะมีอาการสมองเบลอในช่วงที่โหมอ่านหนังสือสอบหนัก ๆ แนะนำให้รับประทานผักใบเขียวอย่างผักคะน้า กวางตุ้ง ผักสลัด หรือผักบุ้ง ให้ได้ทุกวัน

4. ขนมปังโฮลวีท



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมปังโฮลวีท
          ขนมปังโฮลวีทจัดเป็นคาร์บเชิงซ้อนที่ร่างกายจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลแล้วดึงไปเป็นพลังงานของร่างกาย ซึ่งเมื่อการดูดซึมเป็นไปอย่างเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ร่างกายก็จะมีพลังงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทำให้ไม่ง่วงซึมเร็วนัก แถมยังไม่สะกิดต่อมหิวบ่อย ๆ ให้ต้องลุกไปหาอะไรรองท้อง ขาดสมาธิการอ่านหนังสือสอบเป็นช่วง ๆ กลับมาอ่านต่อก็ไม่ค่อยมีสมาธิแล้ว
1. ไข่ต้ม


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          ไข่ต้ม ในไข่แดงอุดมไปด้วยโคลีน (Choline) และวิตามินบี ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว สมองก็จะใช้โคลีนในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกั­­­บความจำและการสื่อสาร โดยการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบอสตันแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่รับประทาน­­­­ไข่และบริโภคอาหารที่มีสารโคลีนเข้าไปเป็นประจำจะสามารถทำแบบท­­­ด­สอบได้ดีกว่าคนที่ไม่รับประทานไข่
          นอกจากนี้ไข่ยังอุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีน สารต้านอนุมูลอิสระประเภทแคโรทีนอยด์ที่มีความสำคัญต่อเซลล์ประสาทตา ช่วยป้องกันอาการล้าสายตาระหว่างอ่านหนังสือสอบได้อีกด้วยล่ะ

6. เมล็ดฟักทอง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมล็ดฟักทอง
          เมล็ดฟักทองอบกรอบก็ช่วยบำรุงสมองได้ดี โดยในเมล็ดฟักทองอุดมไปด้วยธาตุสังกะสี สารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และจดจำ เพิ่มทักษะกระบวนการคิดได้ ใครที่มักจะเหงาปากระหว่างอ่านหนังสือสอบ เมล็ดฟักทอง 1 กำมือช่วยให้คุณอ่านหนังสือแบบเพลิน ๆ แถมช่วยให้สมองจดจำสิ่งที่อ่านไปได้อีกด้วยนะ 
7. ดาร์กช็อกโกแลต



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดาร์กช็อกโกแลต
          อ่านหนังสือสอบหนัก ๆ เพื่อป้องกันความเฉื่อยชาและภาวะตาจะปิด ดาร์กช็อกโกแลตหรือช็อกโกแลตเข้มข้น 70% ขึ้นไป เติมคาเฟอีนให้ร่างกายแบบสักหน่อย สมองจะได้ตื่นตัว อีกทั้งช็อกโกแลตยังช่วยปรับอารมณ์ให้ดี ทำให้เราอ่านหนังสือได้อย่างมีความสุข และคาเฟอีนในช็อกโกแลตยังจะช่วยปรับจูนสมาธิในการอ่านหนังสือของเราให้ดีขึ้นอีกด้วย 

8. โยเกิร์ต



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โยเกิร์ต
          โยเกิร์ตรสชาติอร่อยลิ้นมีปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง เมื่อกินโยเกิร์ตเข้าไปจึงจะรู้สึกอิ่มได้นาน มีพลังงานส่งต่อให้ร่างกายเรื่อย ๆ นอกจากนี้ใครที่รู้สึกง่วง ๆ ซึม ๆ ระหว่างอ่านหนังสือสอบ โยเกิร์ตซึ่งมีความหวานจากน้ำตาลก็สามารถเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายได้ทันที

9. แอปเปิล


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แอปเปิล
          แอปเปิลเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารสื่อประสาทที่เรียกว่า อะเซติลโคลีน (Acetylcholine) ส่งผลให้เซลล์สมองตื่นตัวและเพิ่มทักษะการเรียนรู้และจดจำไปในตัว ที่สำคัญยังมีการศึกษาที่ค้นพบว่า แอปเปิลมีส่วนช่วยลดความรู้สึกตื่นเต้นได้ค่อนข้างดี อ้างอิงจากการทดลองให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งกินแอปเปิลในมื้อเที่ยงก่อนเข้าสอบต่อในช่วงบ่าย ผลการทดลองพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้กินแอปเปิลทำข้อสอบได้คะแนนดีกว่ากลุ่มนักเรียนที่ไม่ได้กินแอปเปิลราว ๆ 7 คะแนนโดยเฉลี่ย

10. ข้าวกล้อง
   à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวกล้อง


          วิตามินในข้าวกล้องคือสิ่งที่สมองของเราต้องการ โดยเฉพาะกาบ้า สารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยให้สมองสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น ในข้าวกล้องยังมีวิตามินบีสูงมาก ซึ่งวิตามินชนิดนี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองให้ตื่นตัว เตรียมตัวบรรจุความรู้ที่อ่านเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

11. นม 




          เครื่องดื่มดื่มบำรุงสมองก่อนสอบที่อยากแนะนำคือ นม เพราะในนมมีโปรตีนและกรดอะมิโนที่สำคัญต่อระบบการทำงานของสมองอยู่มาก ดังนั้นในช่วงอ่านหนังสือสอบควรดื่มนมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 กล่อง หรือ 1 แก้ว ที่สำคัญควรเลือกดื่มนมรสจืดหรือนมโคแท้ 100% ที่ไม่เติมแต่งรสชาติใด ๆ เพราะการที่เราเสิร์ฟน้ำตาลให้ร่างกายมากจนเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายรู้สึกขี้เกียจ และง่วงนอนได้ง่าย 

นอกจากนี้เจ้าของBlogยังได้นำเทคนิคดีๆในการเตรียมสมองให้พร้อมก่อนสอบของคุณดาวมาฝากอีกด้วย

หลังจากที่เราใช้งานสมองอย่างหนักให้พร้อมสำหรับการสอบแล้ว ในขณะเดียวกันการเตรียมร่างกายให้พร้อมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เจ้าของบล็อคได้ไปเจอวิธีการกินง่ายๆในวันสอบของคุณดาวที่ได้รวบรวมไว้ ที่คุณดาวทำแล้วได้ผลดีมาก สมองปลอดโปร่ง ไม่ล้า เพิ่มโฟกัสกับการทำข้อสอบ

ที่มา:Fit Kab Dao bv ดาววิภา

1.กินมื้อเช้า

avocado-1821778_1280
จากผลวิจัยบอกว่านักเรียนที่กินมื้อเช้าไปสอบจะทำคะแนนได้ดีกว่านักเรียนที่อดมื้อเช้า พูดง่ายๆคือสมองของเราต้องการพลังงานเพื่อที่จะทำงานได้ดี แต่ถ้าเราไม่กินเลยสมองก็ไม่มีพลังงานที่จะใช้ รู้สึกล้า มึนๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก ดังนั้นเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง อาหารเช้าที่ควรเลือกคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปังโฮวีท, มูสลี่ หรือข้าวโอ๊ต เพื่อปลดปล่อยพลังงานช้าๆตอนที่เราทำข้อสอบ และเลือกโปรตีนเช่นนม โยเกิร์ต ไข่ จะรู้สึกอิ่มนานค่ะ แต่ถ้าตื่นสายไม่ว่างจริงๆ อย่างน้อยก็เข้าเซเว่นก็ยังช่วยได้
%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99jpg-1

2.ดื่มน้ำให้เพียงพอ

จากการศึกษานักศึกษาจากมหาลัยหนึ่งพบว่านักศึกษาที่นำขวดน้ำเข้าห้องสอบจะได้คะแนนมากกว่านักเรียนคนอื่นๆอยู่ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่ได้เยอะไม่ใช่เพราะติดโพยไว้กับขวดน้ำนะคะ แต่เป็นเพราะว่าการที่สมองได้รับน้ำเพียงพอจะทำให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเช้าวันสอบอย่าลืมดื่มน้ำแก้วใหญ่ๆเพื่อให้สมองได้รับน้ำเพียงพอ แต่อ่านแบบนี้แล้วขอเตือนจากประสบการณ์ส่วนตัวคืออย่าดื่มใกล้ๆก่อนเข้าห้องสอบเพราะจะมัวแต่ปวดฉี่ไม่มีสมาธิทำข้อสอบ
สำหรับคนที่ไม่ชอบดื่มน้ำระหว่างวันแนะนำให้ดื่มน้ำพวก Infused Water หรือน้ำหมักผลไม้แทนค่ะ 60 สูตรน้ำหมักผลไม้แบบไทย ๆ เครื่องดื่มสุขภาพสุดฮิต
healthbenefits-1
Credit:FB.COM/EASYCOOKINGMENU

3.ไม่ควรกินแป้งเยอะเกินไป

pexels-photo-29978
สังเกตไหม ว่าทุกครั้งที่เรากินข้าวมากๆ เราจะรู้สึกอืดและง่วงมากโดยเฉพาะช่วงกลางวัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไปง่วงในห้องสอบ ในวันสอบควรหลีกเลี่ยงพวกที่ทำจากแป้งขัดสีอย่าง  ขนมปังขาว, ขนมขบเคี้ยว, ข้าวขาว, ขนมเค้ก และของหวาน เช่น น้ำหวาน, ลูกอม, น้ำอัดลม  แต่แทนด้วยการกินผักผลไม้ อย่างสลัดผักเป็นต้น

4.แบ่งวิธีกินเป็นมื้อเล็กๆ

meal-prep-1
อย่ากินอาหารในปริมาณมากๆในทีเดียว เพราะพลังงานหลักของร่างกายแทนที่จะให้กับสมอง แต่กลับยุ่งอยู่กับการย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป ทำให้สมองไม่ปลอดโปร่ง ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นให้แบ่งย่อยเป็นมื้อเล็กๆให้รู้สึกอิ่มพอดี

5.อย่าโต้รุ่ง

dog-70343_1280
ตอนช่วงเข้ามหาลัย ดาวอ่านหนังสือดึกๆติดต่อกันหลายวันมาก แล้ววันสุดท้ายก็โต้รุ่งไปสอบ แต่ทันที่จะได้คะแนนเยอะแต่กลับได้น้อยมาก เพราะคิดอะไรไม่ค่อยออก มึนๆตึบๆ ดังนั้นไม่แนะนำให้โต้รุ่งก่อนไปสอบ แต่ให้หลับเช้าๆให้สมองได้พักผ่อนให้เต็มที่จากที่ทำงานหนักทั้งวัน รับรองว่าตื่นมาตอนเช้าจะรู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่งอ่านทบทวนอีกเล็กน้อย ทีนี้ก็พร้อมจะไปสอบแน่นอน
www.fitkabdao.com
    

พฤติกรรมทำลายสมอง

   พฤติกรรมทำลายสมอง  !  


       สมองเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกายของมนุษย์ และมีความละเอียดอ่อนมากที่สุดเช่นกัน หน้าที่ของสมองคือเป็นศูนย์กลางควบคุมสั่งการการเคลื่อนไหวและพฤติกรรม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลให้สมองไม่บอบช้ำเสียหาย มีการวิจัยว่าเพียงแค่พฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันอาจจะเป็นอันตรายต่อสมองได้อย่างที่คาดไม่ถึง



ไม่ทานอาหารเช้า
พฤติกรรมยอดฮิตของคนสมัยนี้เลยก็ว่าได้ เพราะอาจจะต้องเร่งรีบไปทำนู่นนี่ แต่รู้มั้ย? การไม่ทานอาหารเช้านั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สมองไม่ไดรับสารอาหารมาเลี้ยงอย่างเพียงพอ และเป็นเหตุให้เกิดอาการสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้นะจ๊ะ
 การโกหกเป็นประจำ
การโกหกนั้น ต้องทำให้สมองทำงานหนักกว่าผิดปกติ เพราะสมองต้องคอยจำในสิ่งที่โกหกเอาไว้ จึงส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยในความเป็นจริงแล้วสมองคนเรายิ่งทำงานหนักถือว่ายิ่งดี แต่มีข้อมูลยืนยันมาว่า การใช้สมองทำงานหนักในทางที่ไม่สร้างสรรค์นั้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง!!!
ความเครียด
นอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อสมองด้วย!!! แถมทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียนหนังสือจะลดลง และอาจสะสมจนร่างกายไม่สามารถปรับตัวรับกับความเครียดได้
การกินอาหารที่มากเกินพอดี
หากกินอาหารปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคความจำสั้น ดังนั้นพยายามอย่าทานจุกจิก หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์นะจ๊ะ
ทานของหวานมากเกินไป
ของหวานหากทานเยอะเกินไปจะเข้าไปขัดขวาง การดูดกลืนของโปรตีน และสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และสมองได้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้เป็นโรคขาดสารอาหาร และขัดขวางการพัฒนาของสมองด้วย!!!

ขาดการฝึกฝนลับสมอง
หากอยู่เฉยๆ ให้ผ่านไปวันๆ โดยที่ไม่คิดอะไรใหม่ๆ บ้างนั้น จะส่งผลให้การทำงานของสมองลดลงอย่างหนัก เพราะไม่ได้ถูกใช้งาน บ่อยๆ เข้าจะสูญเสียเซลล์สมอง หรือเส้นใยประสาท ยิ่งไม่ใช่บ่อยเท่าไร สมองก็จะเริ่มฝ่อมากขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งแวดล้อมที่แย่
สภาพแวดล้อมก็มีผลต่อสมองเช่นกัน เช่นมลภาวะที่เป็นพิษต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ หรือถ้าบรรยากาศไม่น่าอยู่ แออัด มีเสียงดัง ก็จะทำให้รู้สึกไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ สมองจึงไม่เจริญเติบโตไม่มีการพัฒนา เพราะไม่ได้ใช้ความคิดนั่นเอง…บรรยากาศจึงเป็นเรื่องสำคัญนะจ๊ะ
การอดหลับอดนอน
สมองก็เหมือนอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ หากคนเราอดนอนต่อเนื่องกันก็จะทำให้สมองขาดการพักผ่อน เซลล์สมองอาจตายได้ อาจจะทำให้คิดอะไรได้ช้า เบลอ หลงๆ ลืมๆ ดังนั้นควรหาเวลานอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อจะได้ชาร์จพลังงานอย่างเต็มที่!!!
การนอนคลุมผ้าห่มปิดหัว
เป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลง ส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง!!!
สมองถูกกระทบกระเทือน
หากสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง อาจจะด้วยแรงกระแทก ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ การตกจากที่สูง ถือว่าเป็นการทำร้ายสมองอย่างตรงจุด อาจทำให้เลือดคั่งในสมอง สมองบวม ความจำอาจเสื่อม และเซลล์ในสมองบางส่วนจะถูกทำลาย ดังนั้นแล้วอย่าให้มีอะไรมากระแทกหัวของเราแบบรุนแรงนะจ๊ะ
การดื่มของมึนเมา
หากดื่มมากเกินไป จะทำให้สมองฝ่อ เป็นโรคประสาท ฤทธิ์ของแอลกกอฮอล์นั้นจะเข้าไปกดประสาท ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง ขาดสติ ประสาทหลอน พูดจาไม่รู้เรื่อง เมื่อสมองทำหน้าที่ผิดปกติก็จะส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย เช่น กล้ามเนื้อส่วนปลาย แขน ขา อ่อนแรง โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ดื่มกาแฟมากเกินไป
จริงๆ แล้วการดื่มกาแฟนั้นมีผลดีช่วยกระตุ้นระบบประส่วนกลางทให้ไม่รู้สึกง่วง แถมยังช่วยให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ควรดื่มจนมากเกินไป นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าปริมาณสารคาเฟอีนที่คนเรากินในกาแฟไม่ควรเกิน 250-600 มก. ต่อวัน ดังนั้นควรดื่มในปริมาณพอเหมาะวันละไม่เกิน 2-3 แก้วก็พอแล้ว
การเป็นโรคที่สัมพันธ์กับสมองโดยตรง
นอกจากพฤติกรรมแล้ว โรคภัยไข้เจ็บก็ทำร้ายสมองได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับสทอง อาทิ เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคชัก เป็นต้น บางโรคเป็นแล้วรักษาหายขาดได้ บางโรคก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นแล้วคุณควรใส่ใจกับสุขภาพของตัวเอง และคนใกล้ตัวอย่างเคร่งครัด
โทรศัพท์มือถือ!!!
นักวิจัยพบว่า
คลื่นจากมือถือนั้น เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมากมาย อาทิ อัลไซเมอร์ เป็นหมัน มะเร็ง โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ใช้มือถือคุยนานๆ เกินวันละ 2 ช.ม. มีอัตราความเสี่ยงที่จะเป็นโรคขี้หลงขี้ลืมก่อนวัยอันควร เพราะคลื่นโทรศัพท์มีผลต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์สมอง และเซลล์สืบพันธุ์ เพราะมีความไวต่อการรับความรู้สึกนั่นเอง นอกจากนี้การวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัวขณะนอนหลับ คลื่นแม่เหล็กก็จะไปรบกวนสมอง ทำให้สมองทำงานได้น้อยลงด้วย

วิธีพัฒนาสมอง

สมองของคนเรานั้นสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีอายุมากขึ้นสักแค่ไหนก็ตาม ก็ยังสามารถพัฒนาได้ แม้ว่าอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของความรวดเร็วในการคิด และการดึงข้อมูล แต่ถ้าเราได้ฝึกฝนอยู่บ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้สมองของเรามีความคล่องตัว คิดอะไรได้รวดเร็วขึ้น และคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าของBlogได้เอาวิธีการฝึกฝนสมองของเราแบบง่ายๆ มาให้ฝึกฝนกันดู เพื่อที่จะเป็นการพัฒนามันสมองของเราให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา 

จากที่เจ้าของBlogได้ไปสืบค้นมาพบว่ามีวิธีในการที่จะพัฒนาสมองมากมายหลากหลายวิธีเลยทีเดียวเช่นวิธีเหล่านี้




เจ้าของBlogได้สรุปออกมาได้10วิธีในการพัฒนาสมองที่สามารถทำได้ง่ายๆ

1. ทำอะไรใหม่ๆ บ้างการลงมือทำอะไรใหม่ๆ หรือออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ จะช่วยกระตุ้นสมองเราให้ทำงานได้ดีขึ้น และเพิ่มคว องเราให้เฟรช และไบร์ทขึ้น
2. ออกกำลังกายการออกกำลังไม่ใช่แค่ช่วยลดน้ำหนัก หรือดีต่อสุขภาพกายเท่านั้น แต่มันยังดีมากๆ ต่อสมองเราด้วยค่ะ ช่วยให้เลือดในสมองไหลเวียนได้ดี แถมยังช่วยให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ซึ่งผลสรุปนี้ได้มาจากงานวิจัยที่ทำกับลิง โดยเปรียบเทียบลิงที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกาย พบว่าลิงที่ออกกำลังการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วกว่าลิงที่ไม่ออกกำลังกายถึง 2 เท่า และนักวิจัยก็คาดว่า ผลนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับมนุษย์เช่นกัน

3. ฝึกฝนความจำถ้าอยากมีความจำที่ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของเราด้วยค่ะ ถ้าเราไม่ฝึกจำอะไรเลย ต้องดูโพย เปิดสมุดดูตลอดเวลา ความจำเราก็จะไม่ได้รับการพัฒนา เราอาจจะเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการจดจำเบอร์โทรศัพท์ ชื่ออีเมลของเพื่อน หรือตารางงานของแต่ละวันค่ะ

4. หมั่นขี้สงสัยอยู่เสมอต่อมเผือกของเราเนี่ยแหละ บางทีมันก็ดีกับสมองนะคะ มีความอยากรู้อยากเห็น ตั้งคำถามกับทุกสิ่งจะช่วยให้กระตุ้นสมองเราให้ทำงาน และบางทีอาจจะทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นจากความขี้สงสัย ความอยากรู้ อยากเห็นได้ด้วยนะ


5. คิดบวกสิ่งที่ทำร้ายสมองอันดับต้นๆ ก็คือ ความเครียดค่ะ และการคิดลบบ่อยๆ ก็ทำให้เราเครียดขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว เพราะขณะที่เราเครียด สมองเราจะหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ออกมามากมาย แต่การคิดบวกเข้าไว้ จะช่วยทำให้ดีต่อเซลล์สมองเรา ลดความตึงเครียด และความวิตกกังวลได้ด้วย




6. กินกรดไขมันโอเมก้า 3อาหารการกินก็เป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะสมองเราต้องใช้สารอาหารถึง 20% ในการหล่อเลี้ยงสมอง อาหารที่เขาว่ากันว่าดีต่อสมองเรามากๆ เลยก็คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยบำรุงสมอง และดีต่อความจำค่ะ มีงานวิจัยหนึ่งที่ให้กลุ่มคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความจำ หันมากินกรดไขมันโอเมก้า 3 วันละ 900 มิลลิกรัมเป็นเวลา 4 เดือน พบว่าปัญหาดังกล่าวดีขึ้น นอกจากนี้ อาหารจำพวกผัก ผลไม้ที่มีวิตามินสูงๆ ก็ดีต่อสมองเราเช่นกัน

7. อ่านหนังสือช่วยได้ทุกวันนี้เราคงจะสังเกตเห็นได้ว่า เราใช้เวลากับหนังสือน้อยลง หลังจากสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่รู้ไหมว่า การอ่านหนังสือนั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสมองเรามากๆ ค่ะ เพราะการอ่านจะช่วยส่งเสริมเรื่องจินตนาการ ตัวหนังสือที่ไม่มีภาพ จะช่วยทำให้เราจินตนาถึง
ภาพ เป็นการพัฒนาสมองไปในตัว และการจ้องมองกระดาษก็ยังไม่ทำร้ายสายตาเราอีกด้วย

8. ฝึกใช้แผนที่บ่อยๆแม้การใช้แผนที่จะเป็นเรื่องยาก ชวนให้ปวดหัวสักนิด แต่ที่เราปวดหัว งงๆ เนี่ย ก็เพราะสมองเรามันกำลังถูกใช้งานค่ะ ทำให้สมองเราได้รับการฝึกฝน จากการแปลภาพเส้นทางจากแผนที่กับเส้นทางบนถนนจริงๆ ต่อจากนี้ไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องกลัวค่ะ ฝึกอ่านแผนที่ นอกจากจะทำให้เราไม่หลงแล้ว ยังได้ฝึกพัฒนาสมองเราอีกด้วยนะ

9. พยายามอย่าใช้เครื่องคิดเลขสมัยนี้เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แม้แต่การคิดเลข ก็ไม่ต้องมานั่งนับนิ้ว คิดในใจ แค่เปิดสมาร์ทโฟน ก็มีโปรแกรมช่วยเราคิดคำนวณได้แล้ว แต่การใช้เครื่องช่วยคิดเลขบ่อยๆ ก็ไม่ดีเท่าไหร่หรอกนะคะ เพราะสมองเราจะไม่ได้ฝึกฝนให้คิด ดังนั้น ลองกลับไปใช้วิธีสมัยที่เราเรียนบ้างก็ได้ค่ะ อย่างเช่นการคิดเลขในใจ คำนวณตัวเลขเอง โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดช่วย



10. นอนหลับให้เพียงพอเคล็ดลับพิเศษที่ช่วยพัฒนาสมองเราได้ดีสุดๆ ต้องเป็นสิ่งนี้เลย “การนอน” เนี่ยแหละ นอนให้เพียงพอจะช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองให้เฟรช และในขณะที่เรานอน สมองก็จะทำหน้าที่เรียบเรียง บันทึกข้อมูลที่เรารับมาในวันวันนั้น ช่วยให้ระบบความจำเราดีขึ้น ไม่เสื่อมเร็ว ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้านอนก็คือ 4 ทุ่มค่ะ เพราะช่วงเวลานี้จะทำให้สมองเราได้รับโกรท ฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมเซล์ได้ดีที่สุด

นอกจากนี้เจ้าของblogยังจะแถมวิธีพัฒนาสมองสำหรับหนูน้อยให้อีกด้วยเผื่อใครมีน้องหรือลูกที่ยังเล็กอยู่ก็สามารถน้ำไปปรับใช้ได้เลย









วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

วิตามินที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง




วิตามิน คือ สารอาหารที่ช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากคนเราขาดวิตามินไป ย่อมนำโรคต่าง ๆ เข้ามาสู่ร่างกาย ซึ่งวิตามินแต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกันในการขับเคลื่อนการทำงานของอวัยวะให้เป็นไปอย่างปกติในที่นี้ รู้หรือไม่? วิตามินอะไรช่วยบำรุงสมองได้บ้าง?

ประโยชน์ด้านการทำงาน



        วิตามิน B1 ช่วยกระตุ้นการทำงานของประสาท ช่วยลดความเครียดอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง                    

เนื้อสัตว์ที่มีวิตามินบี 1 สูง ได้แก่ เนื้อหมู ตับ ปลาดุก ปลาทูนึ่ง ไข่

ผักที่มีวิตามินบี 1 สูง       ได้แก่ ผักชีลาว ผักแขยง ยอดอ่อนของมะกอก พริกหวาน ยอดฟักข้าว      

ผลไม้ที่มีวิตามินบี 1 สูง    ได้แก่ ชมพู่แขกดำ มะขามหวาน                     

ธัญพืชที่มีวิตามินบี 1 สูง   ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทองแห้ง ถั่วลิสงต้ม ถั่วเขียว รำข้าว ลูกเดือย ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า ข้าวซ้อมมือ  ข้าวเหนียว งาขาว งาดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วแระ



        วิตามิน B2 ช่วยสร้างพลังงานภายในเซลล์ ลดอาการปวดหัวจากการใช้สมองอย่างหนัก แถมยังลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้อย่างดี

อาหารที่มีวิตามินบี 2 
เครื่องใน เช่น ตับ ไต (เซี่ยงจี๊) ไข่                           
น้ำนม และนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต) เนย ขนมปัง                           
ผักใบเขียว เห็ด ปลา หอยนางรม




        วิตามิน B6 ช่วยควบคุมอารมณ์

อาหารที่มีวิตามินบี 2

ตับสัตว์ ปลา ไข่ไก่  นม

ข้าวไม่ขัดสี  ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว

แคนตาลูป กะหล่ำปลี



        วิตามิน B9 ช่วยเรื่องระบบการรับรู้ อารมณ์ และความรู้สึกในสมอง ช่วยลดอาการขี้หลงขี้ลืม ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์

อาหารที่มีวิตามินบี 9

อยู่ในจำพวก ผักสดสีเขียว เช่นผักขม และบร๊อคโคลี่

และพบในผลไม้, ถั่วต่าง ๆ , เมล็ดข้าวธัญพืช

หรืออาจทานวิตามิน B9 ในรูปแบบอาหารเสริมก็ได้เนื่องจากจะได้รับจากอาหารน้อย



        วิตามิน B12 ช่วยเรื่องความจำ ทำให้ระบบประสาทและสมอง ทำงานเป็นปกติ

อาหารที่มีวิตามินบี 12

หอยลาย ตับ ปลาเทราต์ ปลาแซลมอน ทูน่ากระป๋อง เนื้อ ไก่ ปู

โยเกิร์ต  นม ไข่ ชีส เนยแข็ง ธัญพืช

                            

ประโยชน์ด้านการควบคุมและการบำรุง


      วิตามิน C ช่วยสังเคราะห์สารสื่อประสาทและลดอาการสมองเสื่อม

อาหารที่มีวิตามินC

โดยปกติแล้วเราสามารถหาวิตามินซีได้จากธรรมชาติ โดยเฉพาะในพืชผักผลไม้

แหล่งวิตามินซีที่พบได้มากที่สุด มีดังนี้ มะขามป้อม ฝรั่ง กีวี มะละกอสุก ส้มโอ



      Q10 ช่วยเสริมสร้างพลังงาน

อาหารที่มีQ10

หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน ฯลฯ 

รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว นม ชีส

แต่โดยส่วนมากจะนิยมรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงก็คือ การรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวร่วมกับอาหารที่มีไขมัน เพื่อเป็นการเพิ่มการดูดซึมของQ10




      แม็กนีเซียม ช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย

อาหารที่มีแม็กนีเซียม

ปลาทู

ผักขม ผักสวิสชาร์ด เมล็ดฟักทอง

โยเกิร์ตไม่มีไขมัน ควีนัว ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง  อัลมอลด์ ถั่วดำ

อะโวคาโดกล้วย ลูกมะเดื่ออบแห้ง

ดาร์กช็อกโกแลต



      สังกะสี ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยเรื่องความจำ ช่วยควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ช่วยลดภาวะเครียด และช่วยบำรุงสมอง

อาหารที่มีสังกะสี

ตับ นม เนย ปู กุ้ง ไข่ หอยนางรม

มันฝรั่ง ผักใบเขียวต่างๆ ผลไม้ เช่น มะม่วง สับปะรด แอปเปิ้ล

ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืช วุ้นเส้นไม่ฟอกขาว งา 




      วิตามิน E ช่วยปกป้องเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระอันนำมาสู่สมองเสื่อม และมีส่วนช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์

อาหารที่มีวิตามินE

น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันรำ

นย ไข่ ธัญพืช ถั่ว

ผักใบเขียว มะละกอ  อะโวคาโด

โรคทางสมองและวิธีรักษา

โรคสมอง หรือโรคทางสมอง (Brain disease) คือ โรคที่เกิดจากมีการทำงานของเซลล์สมองผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการต่างๆทางสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพา...